หน้าแรก

เกี่ยวกับ สพด. มุกดาหาร

ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ (NEWS)

ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง

ทำเนียบผู้บริหาร

โครงการพระราชดำริ

ผังเว็บไซต์

ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน

พื้นที่รับผิดชอบ

ติดต่อหน่วยงาน

จดหมายข่าว ข่าวประชาสัมพันธ์

สรุปความรู้ของข้าราชการ

หญ้าแฝก
 
 

หญ้าแฝก

 
เว็บไซต์หญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติ
Top
 
fak 1fak 2

 

ปลูกหญ้าแฝกเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรดินและสภาพแวดล้อม 

     หญ้าแฝก เป็นพืชที่เจริญเป็นกอ สามารถพบได้ในสภาพธรรมชาติทุกภาคของประเทศ บางแห่งเจริญเติบโตอยู่อย่างหนาแน่น บางแห่งกระจายอยู่ทั่วไป แต่จากการสำรวจและเก็บตัวอย่างต้นหญ้าแฝกยังไม่พบบริเวณใดที่มีลักษณะการเจริญเติบโตเป็นวัชพืช ด้วยเหตุนี้การนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ การฟื้นฟูทรัพยากรดิน และรักษาสภาพแวดล้อม จึงยังไม่ก่อให้เกิดปัญหาที่เป็นวัชพืชในพื้นที่ สำหรับหญ้าแฝกเป็นพืชที่เจริญเติบโตโดยการแตกกอ เส้นผ่าศูนย์กลางของกอ ประมาณ 30-40 เซนติเมตร ความสูงประมาณ 0.5-1.5 เมตร ในหญ้าแฝกมีลักษณะแคบ ประมาณ6-10 มิลลิเมตร มีความยาวประมาณ 50-75 เซนติเมตร การเจริญเติบโตค่อนข้างไปในแนวดิ่งมากว่าแนวข้าง มีระบบรากมากหยั่งลึก 1.5-3.0 เมตร แต่แผ่ขยายด้านข้างเพียง 50-60 เซนติเมตร สามารถเก็บกักน้ำและความชื้นได้ดี 

ลักษณะเด่นของหญ้าแฝก
 
     หญ้าแฝก มีลักษณะเด่นอยู่หลายประการที่ช่วยการฟื้นฟูทรัพยากรดิน และการรักษาสภาพแวดล้อม จากข้อมูลการวิจัยในด้านต่างๆ สรุปผลได้ว่าหญ้าหญ้าแฝกมีลักษณะเด่นดังนี้ 
       1. มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง 
       2. มีการแตกหน่อและใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก 
       3. มีหญ้าแฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี 
       4. ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้ 
       5. มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย แข็งแรง และทนต่อการย่อยสลาย 
       6. ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ 
       7. บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์ 
       8. ปรับตัวกับสภาพต่างๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป 
       9. ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน ช่วยให้อยู่รอดได้ดี

การฟื้นฟูทรัพยากรดิน 
     การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ทำการเกษตร ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นในเรื่องของการอนุรักษ์ดินและน้ำ ลดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน การช่วยเก็บกักตะกอนดินในพื้นที่ลาดชัน แต่จากผลของการศึกษาวิจัยพบว่าหญ้าแฝก ยังมีลักษณะในด้านการฟื้นฟูทรัพยากรดินด้วย ซึ่งช่วยให้ดินมีศักยภาพในการผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ 
       1. การเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ 
           เนื่องจากระบบรากของหญ้าแฝกค่อนข้างมาก และหนาแน่น มีมวลชีวภาพสูง และเจริญแทรกลงในในดินด้วยลักษณะดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน เมื่อรากบางส่วนตายไป สำหรับส่วนของใบ พบว่าหญ้าแฝกเจริญได้ค่อนข้างเร็ว มวลชีวภาพสูงดังนั้นการตัดใบคลุมดินจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน และยังช่วยเร่งการแตกหน่อยของหญ้าแฝกด้วย 
       2. การเพิ่มปริมาณความชื้นในดิน 
          ในระบบที่มีการปลูกหญ้าแฝก พบว่าดินจะเก็บความชื้นได้ยาวนานกว่า เนื่องจากส่วนของหญ้าแฝกที่ประสานกันเป็นร่างแห จะช่วยดูดยึดน้ำไว้ในดินซึ่งเห็นได้จากไม้ผลหรือพืชไร่ที่เจริญใกล้แถวหญ้าแฝกจะมีการเจริญเติบโตที่ดีกว่าพืชที่ไม่ได้ปลูกใกล้หญ้าแฝก ปัจจัยหนึ่งคือระดับความชื้นในดินมีมากและยาวนานกว่า 
       3. การเพิ่มอัตราการระบายน้ำและอากาศ 
           ระบบรากของหญ้าแฝกที่แพร่กระจายในดิน มีส่วนช่วยให้ดินมีการระบายน้ำและอากาศได้ดีมากขึ้นกว่าการไม่มีรากหญ้าแฝก 
       4. การเพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน 
        บริเวณอิทธิพลของระบบรากหญ้าแฝก พบว่ามีเชื้อจุลินทรีย์อยู่มากมายหลายชนิด ส่วนใหญ่มีผลดีต่อการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารพืชในดิน ช่วยดูดธาตุอาหารจากดิน และส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมของเชื้อจุลินทรีย์ในบริเวณรากหญ้าแฝก ลักษณะดังกล่าวส่งผลดีต่อการเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชในดินปัจจัยดังกล่าวการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ดินเสื่อมโทรมหรือพื้นที่ดินมีปัญหา จึงมีส่วนช่วยฟื้นฟูและปรับปรุงดินให้มีสภาพดีขึ้น เนื่องจากผลของอินทรียวัตถุที่เพิ่มขึ้นและกิจกรรมของเชื้อจุลินทรีย์บริเวณหญ้าแฝก รวมทั้งการมีความชื้นที่ยาวนานขึ้น สภาพดินจึงมีการพัฒนาและความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ

การรักษาสภาพแวดล้อม 
     หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากหนาแน่นเป็นจำนวนมาก และเจริญในแนวลึกมากกว่าด้านข้างประกอบกับหญ้าแฝกเจริญเติบโตได้ในสภาพที่มีโลหะหนัก ลักษณะดังกล่าวจึงมีการนำหญ้าแฝกมาปลูกเพื่อใช้บำบัดน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท และดูดซับโลหะหนักจากดิน สำหรับวิธีการนำหญ้าแฝกไปปลูกเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาสภาพแวดล้อม ได้แก่
       • การปลูกหญ้าแฝกรอบขอบบ่อบำบัดน้ำทิ้ง เพื่อให้หญ้าแฝกช่วยดูดซับโลหะหนังบางชนิด 
       • การปลูกหญ้าแฝก เพื่อดูดซับโลหะหนักจากดิน 
       • การปลูกหญ้าแฝก แล้วให้น้ำทิ้งไหลผ่านในอัตราการไหลที่เหมาะสม

การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เกษตรกรรมมีจุดประสงค์ที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรดินและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งประกอบด้วย

     1. การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลาดชัน ควรปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน โดยการทำแนวร่องปลูกตามแนวระดับ ใช้ระยะระหว่างต้น 5 เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือยและระยะ 10 เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง ระยะห่างแถวตามแนวดิ่งไม่เกิน 2 เมตร หญ้าแฝกจะเจริญเติบโตแตกกอชิดกันภายใน 4-6 เดือน

     2. การปลูกเพื่อควบคุมร่องน้ำและกระจายน้ำ นำกล้าหญ้าแฝกในถุงพลาสติกที่มีการแตกกอและแข็งแรงดีแล้วไปปลูกในร่องน้ำ โดยขุดหลุมปลูกขวางร่องน้ำ เป็นแนวตรง หรือแนวหัวลูกศรชี้ย้อนไปทิศทางน้ำไหลอาจใช้กระสอบทรายหรือก้อนหิน ช่วยทำคันเสริมฐานให้มั่นคงตามแนวปลูกหญ้าแฝก ระยะห่างระหว่างต้น 5 เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ 10 เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง และระหว่างแนวปลูกหญ้าแฝกไม่เกิน 2 เมตร ตามแนวตั้งหลังจากเกิดคันดินกั้นน้ำควรปลูกหญ้าแฝกต่อจากแนวคันดินกั้นน้ำออกไปทั้งสองข้าง เพื่อเป็นการกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก